วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบวิชาระบบปฏิบัติการ 1 บทที่ 1-15

บทที่ 1 พื้นฐานระบบคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ

1. คอมพิวเตอร์จะทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ระบบคอมพิวเตอร์ควรจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่ต้องทำงานประสานกัน ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) ค. บุคลากร (Pepleware) ข้อมูล (Data)
ข. กระบวนการทำงาน (Procedure) ง. ถูกทุกข้อ

2. Input Unit ทำหน้าที่รับข้อมูลและโปรแกรมลงสู่เครื่อง อุปกรณ์ที่ใช้รับข้อมูลลงสู่เครื่องคือข้อใด
ก. เครื่องสแกน ค. เครื่องพิมพ์
ข. จอภาพ ง. ลำโพง

3. ซอฟต์แวร์ระบบ หมายถึงข้อใด
ก. ชุดคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และคอยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้
ข. ระบบที่อาจจะเป็นฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดระเบียบในการอินเทอร์เฟซระหว่างผู้ใช้กับเครื่อง ตลอดจนควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ และการจัดสรรทรัพยากรในระบบให้ใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ค. ทรัพยากรของระบบ โปรแกรมใช้ทรัพยากรมากบ้างน้อยบ้าง แต่เนื่องจากทรัพยากรบางอย่างมีจำกัด ทำให้เมื่อมีการเรียนใช้อาจจะทำให้ทรัพยากรนั้นหมดได้
ง. เป็นหน้าที่ของระบบปฏิบัติการที่จะต้องจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และหลายประเภทให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และได้งานเพิ่มมากขึ้น

4. “ระบบปฏิบัติการ” (Operating System) หมายถึง
ก. ทรัพยากรของระบบมีจำกัด โปรแกรมจะใช้ทรัพยากรมากบ้างน้อยบ้าง แต่เนื่องจากทรัพยากรบางอย่างมีจำกัด ทำให้เมื่อมีการเรียนใช้อาจจะทำให้ทรัพยากรนั้นหมดได้
ข. ระบบที่อาจจะเป็นฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดระเบียบในการอินเทอร์เฟซระหว่างผู้ใช้กับเครื่อง ตลอดจนควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ และการจัดสรรทรัพยากรในระบบให้ใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ค. ทรัพยากรมีหลายประเภท เนื่องจากในแต่ละโปรเซสหรือโปรแกรมอาจจะมีความต้องการเพียงประเภทเดียวบ้าง หลายประเภทบ้าง ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรเหล่านี้ตามความเหมาะสมและตามความต้องการของโปรเซส
ง. อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถรับข้อมูลและชุดคำสั่ง ในรูปแบบที่เครื่องรับได้ แล้วนำมาประมวลผล ข้อมูลตามชุดคำสั่งเพื่อแก้ปัญหา หรือทำการคำนวณที่สลับซับซ้อนจนได้ผลลัพธ์ตามต้องการ

5. ทรัพยากรหรือรีซอร์ส (Resources) คือสิ่งที่ถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง สาเหตุที่ต้องมีการจัดสรรทรัพยากรคืออะไร
ก. ทรัพยากรของระบบมีจำกัด ค. ทรัพยากรขาดตลาด
ข. ทรัพยากรมีหลายประเภท ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.

6. ระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสามารถแบ่งตามคุณสมบัติการทำงานได้กี่ระบบ
ก. 11 ระบบ ค. 15 ระบบ
ข. 8 ระบบ ง. 10 ระบบ

7. System Component ,Operating System Services ,System Calls เกี่ยวกับข้อใด
ก. โครงสร้างระบบกระจายเสียง ค. โครงสร้างของระบบปฏิบัติการ
ข. โครงสร้างของระบบเรียลไทม์ ง. ระบบมัลติโปรเซสเซอร์

8. ข้อใดคือหน้าที่รับผิดชอบของระบบปฏิบัติการในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดการไฟล์
ก. การปฏิบัติกับอินพุต/เอาต์พุต ค. สนับสนุนการจัดการไฟล์ในรูปแบบเดิมๆที่ผ่านมา
ข. การตรวจจับข้อผิดพลาด ง. การแชร์รีซอร์ส
9. Operating System Services หมายถึงข้อใด
ก. การติดต่อสื่อสาร ค. การตรวจจับข้อผิดพลาด
ข. เซอร์วิสของระบบปฏิบัติการ ง. การจัดการกับระบบไฟล์

10. ข้อใดให้ความหมาย คอมพิวเตอร์ ได้ถูกต้องมากที่สุด
ก. อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถรับข้อมูลและชุดคำสั่ง (Program) ในรูปแบบที่เครื่องรับได้ แล้วนำมาประมวลผล (Process) ข้อมูลตามชุดคำสั่งเพื่อแก้ปัญหา หรือทำการคำนวณที่สลับซับซ้อนจนได้ผลลัพธ์ตามต้องการ และยังสามารถบันทึก หรือแสดงผลลัพธ์เหล่านั้นได้
ข. อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์
ค. อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถรับข้อมูลและชุดคำสั่ง (Program) ในรูปแบบที่เครื่องรับได้ แล้วนำมาประมวลผล (Process)
ง. อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถรับข้อมูลและชุดคำสั่ง ในรูปแบบที่เครื่องรับได้ แล้วนำมาประมวลผล ข้อมูลตามชุดคำสั่งเพื่อแก้ปัญหา








บทที่ 2 โปรเซส และ Thead

1. โปรเซสที่สมบูรณ์จะต้องประกอบด้วยสิ่งใดบ้าง
ก. หมายเลขโปรเซส (Process ID) , โค้ดโปรแกรม (Program Code) และคุณสมบัติของโปรเซส
ข. หมายเลขโปรเซส (Process ID) , ข้อมูล (Data) , บล็อกควบคุมโปรเซส (Process Control Block) และคุณสมบัติของโปรเซส
ค. หมายเลขโปรเซส (Process ID) , โค้ดโปรแกรม (Program Code) , ข้อมูล (Data) , บล็อกควบคุมโปรเซส (Process Control Block) , PSW (Program Status Word) และคุณสมบัติของโปรเซส
ง. หมายเลขโปรเซส (Process ID) , PSW (Program Status Word) และบล็อกควบคุมโปรเซส (Process Control Block)

2. ข้อใดบอกความหมายของ รีจิสเตอร์ (Register) ได้ถูกต้องที่สุด
ก. ทำหน้าที่เก็บข้อมูลสถานะระบบเมื่อมีอินเทอร์รัพต์เกิดขึ้นเพื่อทำให้โปรเซสดำเนินต่อไปได้ เมื่อกลับมาจากอินเทอร์รัพต์ รีจิสเตอร์นี้จะมีค่าและประเภทที่เปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์ ประเภทของรีจิสเตอร์คือ accumulator , index , stack pointer และ รีจิสเตอร์ทั่วไป
ข. ทำหน้าที่เพื่อทำให้โปรเซสดำเนินต่อไปได้ เมื่อกลับมาจากอินเทอร์รัพต์
ค. ประเภทของรีจิสเตอร์คือ accumulator , index , stack pointer และ รีจิสเตอร์ทั่วไป
ง. ไม่มีข้อใดถูก

3. คุณสมบัติโปรเซสประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก. ลำดับความสำคัญของโปรเซส , อำนาจหน้าที่ของโปรเซส และคุณสมบัติอื่นที่ระบบปฏิบัติการกำหนดให้มี
ข. ลำดับความสำคัญของโปรเซส และ อำนาจหน้าที่ของโปรเซส
ค. อำนาจหน้าที่ของโปรเซส และ คุณสมบัติอื่นที่ระบบปฏิบัติการกำหนดให้มี
ง. ลำดับความสำคัญของโปรเซส และ คุณสมบัติอื่นที่ระบบปฏิบัติการกำหนดให้มี

4. สถานะของโปรเซส มีอะไรบ้าง
ก. สถานะเริ่มต้น , สถานะพร้อม และสถานะสิ้นสุด
ข. สถานะเริ่มต้น , สถานะพร้อม , สถานะรัน , สถานะรอ , สถานะบล็อก และสถานะสิ้นสุด
ค. สถานะเริ่มต้น , สถานะรอ , สถานะพร้อม และสถานะสิ้นสุด
ง. สถานะเริ่มต้น , สถานะรัน , สถานะบล็อก และสถานะสิ้นสุด

5. คิวของโปรเซสที่รอการตอบสนองจากการใช้อินพุต/เอาต์พุตดีไวซ์เรียกว่าอะไร
ก. Context Switch ค. Device Queue
ข. Parent Process ง. Children Process

6. โปรเซสจะสร้างโปรเซสใหม่ได้หลายโปรเซสผ่านทาง System Call ที่ใช้ในการสร้างโปรเซสโดยเฉพาะโปรเซสใหม่ที่สร้าง เรียกว่าอะไร และถ้าเป็นการสร้างโปรเซสในขณะเอ็กซิคิวต์โปรเซสอยู่แล้ว โปรเซสใหม่ที่สร้างนี้เรียกว่าอะไร
ก. โปรเซสแม่ (Parent Process) และ โปรเซสลูก (Children Process)
ข. โปรเซสพ่อ (father Process) และ โปรเซสแม่ (Mather Process)
ค. โปรเซสผู้ปกครอง (Parent Process) และ โปรเซสเด็ก (Children Process)
ง. โปรเซสผู้ใหญ่ (Parent Process) และ โปรเซสเด็ก (Children Process)

7. โปรเซสแม่อาจจะหยุดการเอ็กซิคิวต์โปรเซสลูกด้วยเหตุผลใด
ก. โปรเซสลูกใช้รีซอร์สมากเกินกว่าที่กำหนดไว้
ข. ไม่มีความจำเป็นต้องใช้โปรเซสลูกนั้นอีกแล้ว
ค. โปรเซสแม่สิ้นสุดลงไปแล้ว และ ระบบปฏิบัติการไม่ยินยอมให้เอ็กซิคิวต์โปรเซสลูก
เมื่อโปรเซส แม่ สิ้นสุดไปแล้ว
ง. ถูกทั้งข้อ ก. ข. และค.
8. โปรเซสสื่อประสานมีอะไรบ้าง
ก. การแชร์ข้อมูลข่าวสาร ค. การเพิ่มความเร็วในการคำนวณ
ข. ความสะดวก ง. ถูกทุกข้อ

9. ฟังก์ชันของระบบแมสเสจที่ IPC สนับสนุนมีอย่างน้อย 2 ประการ คืออะไรบ้าง
ก. สร้างแมสเสจและส่งแมสเสจ ค. ส่งแมสเสจและรับแมสเสจ
ข. สร้างแมสเสจและรับแมสเสจ ง. ไม่มีข้อใดถูก

10. วิธีการติดต่อระหว่างโปรเซสมีกี่วิธี อะไรบ้าง
ก. 3 วิธี ทางลัด ทางโค้ง ทางตรง ค. 3 วิธี ทางตรง ทางอ้อม ทางลัด
ข. 2 วิธี ทางตรง ทางอ้อม ง. 2 วิธี ทางลัด ทางอ้อม












บทที่ 3 การจัดเวลาซีพียู

1. Dispatcher นี้ควรมีการทำงานที่เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะว่าจะต้องทำงานทุกครั้งที่มีการย้ายโปรเซสซึ่งเวลาเวลาที่ถูกใช้ไปกับการทำเช่นนี้ เราเรียนว่าอะไร
ก. Dispatch Latency ค. Dispatch Context
ข. Dispatch User Mode ง. Dispatch Kernel

ใช้คำตอบต่อไปนี้ตอบข้อ 2 – 5
ก. Round – Robin Scheduling ค. Multilevel Queue Scheduling
ข. First – Come First – Served ง. Shot – Job – First Scheduling

2. การจัดเวลาแบบงานสั้นทำก่อน หมายถึงข้อใด
3. การจัดเวลาแบบมาก่อนได้ก่อน หมายถึงข้อใด
4. การจัดเวลาแบบวนรอบ หมายถึงข้อใด
5. การจัดเวลาแบบคิวหลายระดับ หมายถึงข้อใด

6. การทำงานแบบเรียลไทม์นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่อะไรบ้าง
ก. Hard Real – Time Dry Real – Time ค. Dry Real – Time Soft Real – Time
ข. Hot Real – Time Hard Real – Time ง. Hard Real – Time Soft Real – Time

7. วิธีการคัดเลือกอัลกอริทึมสำหรับการจัดเวลาซีพียู วิธีใดเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว ได้ผลลัพธ์ที่เป็นตัวเลขที่แน่นอน
ก. วิธีการสร้างขึ้นมาจริง ๆ ค. Deterministic Modeling
ข. Simulations ง. โมเดลการจัดคิว

ใช้คำตอบต่อไปนี้ตอบข้อ 8 – 10
ก. การจัดเวลาแบบเรียลไทม์ ค. อัลกอริทึมของการจัดเวลา
ข. การจัดเวลาของมัลติเพิลโปรเซสเซอร์ ง. วิธีการจำลองระบบ

8. Real – time Scheduling หมายถึงข้อใด
9. Scheduling Algorithms หมายถึงข้อใด
10. Simulations หมายถึงข้อใด














บทที่ 4 วงจรอับ

1. วงจรอับ คืออะไร
ก. วงจรอับ คือ วงจรที่อยู่ในที่ ที่อับชื้น อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
ข. วงจรอับ คือ กลุ่มของโปรเซสที่ถูกปฏิเสธไม่ให้ทำงาน อันมีผลสืบเนื่องมาจากการแย่งชิงกันใช้งานทรัพยากรหรือการสื่อสารโดยโปรเซสในกลุ่มต่างรอคอยสัญญาณทำงานที่จะเกิดขึ้นได้เฉพาะจากโปรเซสภายในกลุ่มนี้เท่านั้น
ค. วงจรอับ คือ กลุ่มของโปรเซสที่ยอมรับการทำงาน อันมีผลมาจากการต้องการใช้งานทรัพยากรโดยโปรเซสเป็นผู้ส่งสัญญาณภายในกลุ่ม
ง. ไม่มีข้อถูก

2. เงื่อนไขในข้อใดที่ทำให้วงจรอับเกิดขึ้น
ก. เมื่อมีทรัพยากรที่ไม่สามารถถูกใช้ร่วมกับหลาย ๆ โปรเซสพร้อมกันได้ ถ้ามีทรัพยากรอย่างน้อย 1 ตัวในระบบที่จะยอมให้โปรเซสเพียง 1 ตัวใช้งานมันได้เท่านั้น นั่นก็คือถ้ามีโปรเซสอื่นเข้ามาร้องขอใช้งาน โปรเซสนั้นจะต้องรอจนกว่าโปรเซสดังกล่าวได้ใช้งานเสร็จ และปล่อยทรัพยากรนั้นว่าง
ข. เมื่อมีการถือครองและรอ ถ้าโปรเซสสามารถถือครองทรัพยากรที่ตัวเองได้รับและในขณะเดียวกันก็สามารถทำการร้องขอทรัพยากรเพิ่มเติมได้
ค. เมื่อการทำงานในระบบไม่มีการแทรกกลางคัน ถ้าโปรเซสกำลังใช้งานทรัพยากรอยู่และระบบไม่สามารถบังคับให้โปรเซสนั้นปลดปล่อยทรัพยากรนั้นให้เป็นอิสระได้ โดยทรัพยากรจะเป็นอิสระได้ก็ต่อเมื่อโปรเซสยกเลิกการถือครองเท่านั้น
ง. ถูกทุกข้อ

3. เงื่อนไขทั้ง 3 ที่กล่าวมาข้างต้นอาจจะทำให้เกิด หรือ ไม่ทำให้เกิดวงจรอับก็ได้ วงจรอับจะเกิดขึ้นจริง ๆ ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขที่ 4 เกิดขึ้น เงื่อนไขที่ 4 คือข้อใด
ก. เมื่อมีการถือครองแต่ไม่สามารถถูกใช้ร่วมกับหลาย ๆ โปรเซสพร้อมกันได้ ถ้าโปรเซสกำลังใช้งานทรัพยากรอยู่
ข. เมื่อเกิดวงจรรอคอย ถ้าเกิดวงจรลูกโซ่ของโปรเซส 2 ตัว หรือมากกว่า ที่ต่างรอคอยทรัพยากรที่ถือครองโดยโปรเซสที่อยู่ในวงจรลูกโซ่นั้น
ค. เมื่อมีการถือครองและรอ ถ้าโปรเซสสามารถถือครองทรัพยากรที่ตัวเองได้รับและในขณะเดียวกันก็สามารถทำการร้องขอทรัพยากรเพิ่มเติมได้
ง. เมื่อการทำงานในระบบไม่มีการแทรกกลางคัน ถ้าโปรเซสกำลังใช้งานทรัพยากรอยู่และระบบไม่สามารถบังคับให้โปรเซสนั้นปลดปล่อยทรัพยากรนั้นให้เป็นอิสระได้ โดยทรัพยากรจะเป็นอิสระได้ก็ต่อเมื่อโปรเซสยกเลิกการถือครองเท่านั้น

4. ลูกศรจากโหนดทรัพยากรชี้ไปหาโหนดโปรเซส หมายถึงข้อใด
ก. โปรเซสในขณะนั้นกำลังรอคอยทรัพยากรนั้นอยู่
ข. โปรเซสในขณะนั้นกำลังรอคอยโปรเซสนั้นอยู่
ค. ทรัพยากรนั้นได้ถูกร้องขอและโปรเซสนั้นก็ได้ใช้ไปแล้ว และกำลังถือครองอยู่
ง. ทรัพยากรนั้นได้ถูกร้องขอและทรัพยากรนั้นก็ได้ใช้ไปแล้ว และกำลังถือครองอยู่

5. ข้อใดคือกลยุทธ์ในการจัดการวงจรอับที่สามารถนำมาใช้ได้
ก. ทำการป้องกันไว้ก่อน โดยไม่ให้หนึ่งในเงื่อนไขทั้ง 4 ข้อของการทำให้วงจรอับเกิดขึ้น
ข. ไม่สามารถบังคับให้โปรเซสนั้นปลดปล่อยทรัพยากรนั้นให้เป็นอิสระได้
ค. ไม่ต้องสนใจปัญหาใด ๆ เลย ในบางครั้งถ้าเราไม่สนใจปัญหาที่จะเกิดขึ้น ปัญหาก็อาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ค.
ใช้คำตอบต่อไปนี้ตอบข้อ 6 – 8
ก. การใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ค. การป้องกันการถือครองและรอคอย
ข. ยอมให้มีการแทรกกลางคัน ง. การป้องกันการเกิดวงจรรอคอย

6. Hold and wait prevention หมายถึงข้อใด
7. Circular wait protection หมายถึงข้อใด
8. Mutual exclusion prevention หมาถึงข้อใด
9. ข้อใด คือวิธีการคิดที่ระบบปฏิบัติการสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงการเกิดวงจรอับได้
ก. วิธีการทำงานแบบนางพยาบาลสำหรับระบบที่มีทรัพยากรหลายตัว
ข. วิธีการทำงานแบบนายทหารสำหรับระบบที่มีทรัพยากรหลายตัว
ค. วิธีการทำงานแบบนายกรัฐมนตรีสำหรับระบบที่มีทรัพยากรหลายตัว
ง. วิธีการทำงานแบบนายธนาคารสำหรับระบบที่มีทรัพยากรหลายตัว

10. ข้อใด คือลำดับวิธีการที่ถูกต้องในการแก้ไขเมื่อเกิดวงจรอับ
ก. การตรวจหาวงจรอับ และ การส่งคืนระบบ
ข. การกู้คืนระบบ และ การตรวจหาวงจรอับ
ค. การตรวจหาวงจรอับ และ การกู้คืนระบบ
ง. การส่งคืนระบบ และ การตรวจหาวงจรอับ















บทที่ 5 การจัดการหน่วยความจำ

ใช้คำตอบต่อไปนี้ตอบข้อ 1 – 3
ก. Physical Oganization ค. Logical Oganization
ข. Relocation ง. Protection

1. การจัดการแบ่งโปรแกรมย่อย หมายถึงข้อใด
2. การป้องกันพื้นที่ หมายถึงข้อใด
3. การจัดการแบ่งทางกายภาพ หมายถึงข้อใด

4. ข้อใดคือประโยชน์ของการจัดแบ่งโปรแกรมย่อย
ก. โปรแกรมย่อยที่ไม่ได้ใช้งาน จะไม่ถูกนำลงสู่หน่วยความจำหลักให้เสียพื้นที่เปล่า ๆ ซึ่งเหมาะกับโปรแกรมย่อยที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น
ข. โปรแกรมสำรองที่ใช้งานจริงสามารถเรียกใช้โปรแกรมย่อยได้
ค. โปรแกรมย่อยสามารถเรียกใช้โปรแกรมหลักได้ตลอดเวลา
ง. ไม่มีข้อใดถูก

5. หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ควรถูกออกแบบเป็น 2 ระดับ ได้แก่อะไรบ้าง
ก. หน่วยความจำใหญ่ และหน่วยความจำเล็ก
ข. หน่วยความจำหลัก และ หน่วยความจำสำรอง
ค. หน่วยความจำมาก และ หน่วยความจำน้อย
ง. หน่วยความจำแม่ และ หน่วยความจำลูก

6. วิธีการตรวจสอบเนื้อที่ของหน่วยความจำ คือข้อใด
ก. การจัดการแบบบิตแมพ (Memory Management with Bitmaps)
ข. การจัดการแบบลิงค์ลิสต์ (Memory Management with Linked Lists)
ค. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.
ง. ไม่มีข้อใดถูก

7. ข้อดีของหน่วยความจำเสมือน คือข้อใด
ก. สร้างง่าย ใช้งานง่าย มีประสิทธิภาพสูงมาก ทำการเขียนโปรแกรมได้อิสระมากขึ้น
ข. โปรแกรมของผู้ใช้สามารถมีขนาดใหญ่กว่าหน่วยความจำจริงก็ได้
ค. สามารถเข้ามาทำงานแทนที่หน่วยความจำได้มีประสิทธิภาพมากกว่าหน่วยความจำปกติ
ง. ถูกทุกข้อ

8. การใช้แคชหรือหน่วยความจำพิเศษในการเก็บแถวของตารางหน้า เรียกว่าอะไร
ก. Translation Lookaside Buffer (TLB)
ข. Translation Erer Buffer (TEB)
ค. Translation Lookasign Buffer (TLB)
ง. Translation Singasong Buffer (TSB)

9. วิธีการสับเปลี่ยนหน้าที่ง่ายที่สุด คือแบบใด
ก. วิธีสับเปลี่ยนแบบให้โอกาสครั้งที่สอง
ข. วิธีสับเปลี่ยนแบบที่ไม่ไก้ใช้งาน – ออกก่อน
ค. วิธีสับเปลี่ยนแบบมาก่อน – ออกก่อน
ง. วิธีสับเปลี่ยนแบบมาก่อน – ออกหลัง

10. วิธีการที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกับการแบ่งเป็นหน้าของโปรเซส คือวิธีการใด
ก. การตรวจสอบเนื้อที่ของหน่วยความจำ
ข. การจัดการหน่วยความจำหลักแบบต่างๆ
ค. การสับเปลี่ยนหน้า
ง. การแบ่งเป็นเซ็กเมนต์
บทที่ 6 การจัดการไฟล์

1. ไฟล์ข้อมูล หมายถึงอะไร
ก. สิ่งที่บรรจุข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในที่เดียวกัน อาจหมายถึงโปรแกรมหรืออะไรก็ตามที่ต้องการจะเก็บไว้ด้วยกัน
ข. โปรแกรมของข้อมูล ที่จัดเก็บในหน่วยความจำหลัก
ค. ระบบปฏิบัติการที่ทำการจัดเก็บโปรแกรมในหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์
ง. การจัดหมวดหมู่ของโปรแกรมในหน่วยความจำหลัก

2. ในระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่แล้วชื่อไฟล์จะประกอบด้วยกันสองส่วน คืออะไร
ก. ชื่อหลัก และ ส่วนท้าย
ข. หัวข้อ และ ส่วนท้าย
ค. หัวข้อ และ ส่วนขยาย
ง. ชื่อหลัก และส่วนขยาย

3. ทั้งสองส่วนข้างต้นจะถูกคั่นด้วยจุดในระบบใด
ก. MS – DOS ค. NS – DOS
ข. MS – BOS ง. NS – BOS

4. ระบบปฏิบัติการทุกตัวจะต้องมีสารบัญที่เก็บรวบรวมรายชื่อของไฟล์ต่าง ๆ ทั้งหมดไว้ในที่เดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบดูไฟล์ต่าง ๆ ได้ สิ่งที่ทำหน้าที่จัดเก็บ เรียกว่าอะไร
ก. โฟลเดอร์ ค. ไดเร็กทอรี
ข. ดิกชันนารี ง. ถูกทั้งทั้งข้อ ก. และ ค.
ใช้คำตอบต่อไปนี้ตอบข้อ 5 – 7
ก. ระบบไดเร็กทอรีเดี่ยว ค. ระบบไดเร็กทอรีหลายระดับ
ข. คำสั่งของไดเกทอรี ง. ระบบไดเร็กทอรี 2 ระดับ
5. Two – Level Directory System หมายถึงข้อใด
6. Single – Level Directory System หมายถึงข้อใด
7. Directory Operations หมายถึงข้อใด

8. ลักษณะโครงสร้างของไดเร็กทอรีที่มีโครงสร้างที่ง่ายที่สุด คือโครงสร้างลักษณะใด
ก. Single – Level Directory System
ข. Two – Level Directory System
ค. Directory Operations
ง. Hierarchical Directory System

9. สิ่งสำคัญสำหรับการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลลงบนสื่อเก็บข้อมูล คือข้อใด
ก. จะต้องกำหนดขนาดของบล็อกบนดิสก์ไว้เท่า ๆ กัน
ข. ระบบไฟล์ทุก ๆ ระบบจำเป็นต้องมีการจัดเก็บข้อมูลลงบนสื่อต่าง ๆ ที่ใช้เก็บข้อมูล
ค. จะต้องทราบว่าแต่ละไฟล์มีการเก็บอย่างไร เก็บไว้ที่ไหน และสามารถเรียกออกมาใช้งานได้อย่างไร
ง. ไม่มีข้อใดถูก

10. สื่อที่ปัจจุบันเป็นที่นิยมนำมาจัดเก็บไฟล์ คือข้อใด
ก. RAM ค. ROM
ข. CARD ง. DISK





บทที่ 7 การจัดการอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต

1. นักวิชาการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เห็นว่าอินพุต/เอาต์พุตฮาร์ดแวร์ คืออะไร
ก. ตัวฮาร์ดแวร์ที่นำมาประกอบกัน ได้แก่ มอเตอร์ สายไฟ ชุดจ่ายกระแสไฟฟ้า และตัวชิพต่าง ๆ
ข. โปรแกรมที่ใช้ติดต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ทำงานร่วมกัน โปรแกรมที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการทำงาน
ค. ตัวซอฟต์แวร์ที่นำมาประกอบกัน ได้แก่ มอเตอร์ สายไฟ ชุดจ่ายกระแสไฟฟ้า และตัวชิพต่าง ๆ
ง. ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ติดต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ทำงานร่วมกัน ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการทำงาน

2. อุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทกว้าง ๆ ได้แก่อะไรบ้าง
ก. In Devices และ Out Devices
ข. Block Devices และ Character Devices
ค. In Devices และ Character Devices
ง. Block Devices และ Out Devices

3. อุปกรณ์แต่ละประเภทจะประกอบด้วยกลไกต่าง ๆ และส่วนที่เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบเข้าเป็นตัวชิพหรือประกอบรวมกันบนแผ่นเซอร์กิตบอร์ด ในส่วนนี้เรียกว่าอะไร
ก. ตัวควบคุมความจำ ค. ตัวควบคุมความเร็ว
ข. ตัวควบคุมความถี่ ง. ตัวควบคุมอุปกรณ์

4. หน้าที่ของตัวควบคุมนอกจากจะคอยตรวจสอบหาข้อผิดพลาดแล้ว ยังมีหน้าที่อีกหนึ่งนาที่ หน้าที่นั้นคือข้อใด
ก. ตรวจสอบหาข้อผิดพลาด
ข. เชื่อมต่อตัวควบคุม
ค. แปลข้อมูลจากรูปของสายข้อมูลเพื่อที่จะนำมาใช้กับหลอดภาพ CRT
ง. ตรวจสอบหาข้อผิดพลาดของสายข้อมูลเพื่อที่จะนำมาใช้กับหลอดภาพ CRT
5. การรับ – ส่งข้อมูลจากหน่วยความจำกับอุปกรณ์โดยตรงไม่ต้องผ่าน CPU เป็นการจัดการข้อมูลโดยวิธีใด
ก. Interrupts Revisited ค. Direct Memory Access
ข. Device Controllers ง. Memory – mapped I/O

6. ลักษณะที่ DMA ใช้บัสทั้งสองในขณะที่ CPU ไม่ใช้ เรียกว่าอะไร
ก. การขโมยรอบเวลา ค. การขโมยใช้เวลา
ข. การขโมยของเวลา ง. การขโมยกินเวลา

7. ปัญหาประการหนึ่งของการเก็บแอ็ดเดรสเดิมเพื่อไปให้บริการอินเทอร์รัพต์ ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. ตัวควบคุมอินเทอร์รัพต์ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าอินเทอร์รัพต์ที่ร้องขอเป็นอันดับแรกได้รับบริการเสร็จหรือยัง
ข. ตัวควบคุมอินเทอร์รัพต์ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าอินเทอร์รัพต์ที่ร้องขอเป็นอันดับแรกได้รับบริการเสร็จหรือยัง ถ้ายังอาจเกิดปัญหาขึ้นได้
ค. ตัวควบคุมอินเทอร์รัพต์ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าอินเทอร์รัพต์ที่ร้องขอเป็นอันดับแรกได้รับบริการเสร็จหรือยัง ถ้ายังอาจเกิดปัญหาขึ้นภายใน
ง. ตัวควบคุมอินเทอร์รัพต์ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าอินเทอร์รัพต์ที่ร้องขอเป็นอันดับแรกได้รับบริการเสร็จหรือยัง ถ้ายังอาจเกิดปัญหาขึ้นภายในทำให้CPUไม่สามารถออกจากการให้บริการได้ อินเทอร์รัพต์ที่ร้องขออันดับถัดมาจะต้องรอคอยเป็นเวลานาน ระบบก็จะแฮงค์

8. วิธีที่ง่ายที่สุดในการจัดการข้อมูลผ่านอินพุต/เอาต์พุต คือวิธีใด
ก. Interrupt – driven I/O ค. I/O using DMA
ข. Programmed I/O ง. ถูกทุกข้อ

9. อินพุต/เอาต์พุตซอฟต์แวร์โดยส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 4 เลเยอร์ด้วยกัน แต่ละเลเยอร์จะมีฟังก์ชันติดต่อระหว่างเลเยอร์ที่อยู่ติดกัน ฟังก์ชันที่ใช้ติดต่อระหว่างเลเยอร์ก็จะมีความแตกต่างกันในแต่ละระบบปฏิบัติการ เลเยอร์ของอินพุต/เอาต์พุตซอฟต์แวร์ทั้ง 4 คือข้อใด
ก. Interrupts Revisited , Direct Memory Access , Device Controllers และ Memory – mapped I/O
ข. In Devices , Out Devices , Character Devices และ Memory – mapped I/O
ค. Interrupts Revisited , Direct Memory Access , Character Devices และ Memory – mapped I/O
ง. Interrupt Handlers , Device Drivers , Device Independent I/O Software และ User Spece I/O Software

10. ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีนาฬิกา และตัวตั้งเวลาอยู่ภายใน ที่ทำหน้าที่หลัก 3 ประการด้วยกัน หน้าที่หลักทั้ง 3 หน้าที่ คือข้อใด
ก. บอกเวลาปัจจุบัน , บอกเวลาที่ยังไม่ใช้ และ การตั้งภาษา
ข. บอกเวลาในอดีต , บอกเวลาที่ยังไม่ใช้ และ การตั้งเวลา
ค. บอกเวลาปัจจุบัน , บอกเวลาที่ใช้ไปแล้ว และ การตั้งภาษา
ง. บอกเวลาปัจจุบัน , บอกเวลาที่ใช้ไปแล้ว และ การตั้งเวลา














บทที่ 8 การจัดการสื่อจัดเก็บข้อมูล

1. ดิสก์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นมีหลายประเภท ประเภทที่ใช้งานกันอยู่ทั่วไป คือข้อใด
ก. ดิสก์สังกะสี ค. ดิสก์ตะกั่ว
ข. ดิสก์แม่เหล็ก ง. ดิสก์โก้เธค

2. การเรียงลำดับหมายเลขแทร็กและหมายเลขไซลินเดอร์จะเรียงกันอย่างไร
ก. เรียงต่อกันไปเรื่อย ๆ จากด้านในสุดไปด้านในสุดของดิสก์
ข. เรียงต่อกันไปเรื่อย ๆ จากด้านในสุดไปด้านนอกสุดของดิสก์
ค. เรียงต่อกันไปเรื่อย ๆ จากด้านนอกสุดไปด้านในสุดของดิสก์
ง. เรียงต่อกันไปเรื่อย ๆ จากด้านนอกสุดไปด้านนอกสุดของดิสก์

ใช้คำตอบต่อไปนี้ตอบข้อ 3 – 5
ก. Seek Time ค. Rotational Latency
ข. Rotational Time ง. Transfer Time

3. ระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่หัวอ่านไปยังไซลินเดอร์ที่มีเซ็กเตอร์ที่ต้องการ หมายถึงข้อใด
4. ระยะเวลาการโอนย้ายข้อมูล หมายถึงข้อใด
5. ที่ระยะเวลาที่รอคอยการหมุนดิสก์เพื่อหาเซ็กเตอร์ที่ต้องการให้ตรงกับหัวอ่าน

6. ระยะเวลาการค้นหาในดิสก์จะมีความสำคัญมากที่สุด ดังนั้นดังนั้นการลดระยะเวลาการค้นหาลงสามารถทำให้การใช้งานดิสก์นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราวิธการนี้ว่าอะไร
ก. การให้เวลาการใช้ดิสก์
ข. การจัดข้อมูลการใช้ดิสก์
ค. การจัดเวลาการใช้ดิสก์
ง. การจัดการใช้ดิสก์
7. รูปแบบการทำงานที่ง่ายที่สุดของการจัดเวลาการใช้ดิสก์ แต่ไม่ใช่วิธีของการทำงานที่เร็วที่สุด คือข้อใด
ก. การจัดเวลาแบบมาก่อนได้ก่อน ค. การจัดเวลาแบบเวลาสั้นสุดได้ก่อน
ข. การจัดเวลาแบบ LOOK ง. การจัดเวลาแบบ C – SCAN

8. รูปแบบการทำงานที่เป็นลักษณะของการที่หัวอ่านจะเคลื่อนที่ไปยังไซลินเดอร์ที่ใกล้ที่สุดก่อนแล้วถึงจะเคลื่อนที่ไปยังไซลินเดอร์ที่ไกลออกไป คือข้อใด
ก. การจัดเวลาแบบมาก่อนได้ก่อน
ข. การจัดเวลาแบบ LOOK
ค. การจัดเวลาแบบเวลาสั้นสุดได้ก่อน
ง. การจัดเวลาแบบ C – SCAN

9. รูปแบบการทำงานที่หัวอ่านจะเริ่มอ่านที่ด้านใดด้านหนึ่งของดิสก์ที่จะเคลื่อนที่ไปยังอีกด้านหนึ่ง และจะให้บริการก็ต่อเมื่อหัวอ่านเคลื่อนที่ไปถึงที่ไซลินเดอร์นั้น คือข้อใด
ก. การจัดเวลาแบบมาก่อนได้ก่อน
ข. การจัดเวลาแบบ LOOK
ค. การจัดเวลาแบบเวลาสั้นสุดได้ก่อน
ง. การจัดเวลาแบบ SCAN

10. การสร้างสื่อจัดเก็บข้อมูลที่เชื่อถือได้นั้น จำเป็นที่จะต้องมีการบันทึกข้อมูลอย่างเดียวกันบนสื่อจัดเก็บอย่างน้อย กี่ครั้ง
ก. 2 ครั้ง
ข. 10 ครั้ง
ค. 5 ครั้ง
ง. 1 ครั้ง



บทที่ 9 การจัดการมัลติมีเดีย

1. อุปกรณ์ที่ใช้แสดงทั้งภาพ เสียง และข้อความ เรียกว่าอะไร
ก. Multimedia
ข. Windowsmedia
ค. T.V.media
ง. Subjectmedia

2. แผ่น DVD สามารถเก็บข้อมูลได้มากเท่าใด
ก. 5 - 19 GB
ข. 5 - 17 GB
ค. 2 - 19 GB
ง. 2 - 17 GB

3. ความถี่ที่ประสาทหูของมนุษย์ได้ยิน อยู่ในช่วงระดับใด
ก. 20 Hz – 20000 Hz
ข. 20 Hz – 2000 Hz
ค. 2 Hz – 20000 Hz
ง. 2 Hz – 2000 Hz

4. การสร้างภาพบนหน้าจอที่แสดงออกมาโดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหวนั้นเกิดจากการแสดงภาพนิ่งออกมาอย่างต่อเนื่องด้วยความถี่ที่ตามนุษย์ไม่สามารถแยกออกได้ ภาพที่แสดงออกทีละภาพหรือเฟรม อย่างน้อยต้องมีกี่เฟรม/วินาที
ก. 35 เฟรม / วินาที
ข. 25 เฟรม / วินาที
ค. 15 เฟรม / วินาที
ง. 45 เฟรม / วินาที
5. ในเรื่องของเทคนิคการบีบอัดภาพ มีเทคนิคสำคัญ คือข้อใด
ก. การเข้ารหัส
ข. การบีบอัดภาพ
ค. การถอดรหัส
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ค.

6. กลวิธีจัดเตรียมสายข้อมูลให้มีความต่อเนื่องถูกค้นพบเมื่อใด
ก. พ.ศ.2552
ข. ค.ศ.1997
ค. พ.ศ.1997
ง. ค.ศ.2552

7. Placing Multiple Files on a Single Disk หมายถึงข้อใด
ก. การจัดเก็บข้อมูลหลายไฟล์บนดิสก์เดียวกัน
ข. การจัดเก็บหลายไฟล์ลงบนดิสก์หลายตัว
ค. การเรียงข้อมูลไฟล์ไว้ตามลำดับเคลื่อนที่ของหัวอ่าน
ง. การเก็บไฟล์ลงในดิสก์เดียวกัน

8. Placing Files on Multiple Disks หมายถึงข้อใด
ก. การจัดเก็บข้อมูลหลายไฟล์บนดิสก์เดียวกัน
ข. การจัดเก็บหลายไฟล์ลงบนดิสก์หลายตัว
ค. การเรียงข้อมูลไฟล์ไว้ตามลำดับเคลื่อนที่ของหัวอ่าน
ง. การเก็บไฟล์ลงในดิสก์เดียวกัน

9. ในการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลแบบไฟล์มัลติมีเดียหลาย ๆ ไฟล์ลงบนดิสก์นั้น เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการอ่านข้อมูล จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องใช้ดิสก์หลายตัวเข้ามาช่วย ในลักษณะนี้เรียกว่าอะไร
ก. RAIDS
ข. MAIDS
ค. NAIDS
ง. CAIDS

10. สิ่งสำคัญในการอ่านสายข้อมูลเข้าสู่ระบบเครือข่าย หรือแสดงข้อมูลออกสู่จอภาพ คือข้อใด
ก. ความเร็วและปราศจากเสียเวลาในเรื่องต่าง ๆ
ข. การค้นหาข้อมูล
ค. ความซับซ้อน
ง. การแก้ปัญหา














บทที่ 10 มัลติโปรเซสเซอร์

1. เครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกมีชื่อว่าอะไร
ก. ENIAC
ข. EMIAC
ค. ECIAC
ง. EVIAC

2. ทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษของอัลเบิร์ต ไอสไตน์ กล่าวไว้ว่าอย่างไร
ก. ไม่มีสิ่งใดเร็วกว่าความเร็วเสียง สัญญาณไฟฟ้าในวงจรจะเร็วได้ไม่เกินความเร็วเสียง
ข. ไม่มีสิ่งใดเร็วกว่าความเร็วเสียง สัญญาณไฟฟ้าในวงจรจะเร็วได้ไม่เกินความเร็วแสง
ค. ไม่มีสิ่งใดเร็วกว่าความเร็วแสง สัญญาณไฟฟ้าในวงจรจะเร็วได้ไม่เกินความเร็วเสียง
ง. ไม่มีสิ่งใดเร็วกว่าความเร็วแสง สัญญาณไฟฟ้าในวงจรจะเร็วได้ไม่เกินความเร็วแสง

3. หลักวิธีที่จะเพิ่มความเร็วโดยรวมของคอมพิวเตอร์ได้ คือหลักวิธีใด
ก. หลักวิธีการทำงานแบบขอเวลา
ข. หลักวิธีการทำงานแบบเหลื่อมเวลา
ค. หลักวิธีการทำงานแบบให้เวลา
ง. หลักวิธีการทำงานแบบไม่สนเวลา

4. มัลติเพิลโปรเซสเซอร์ หมายถึงข้อใด
ก. เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีความเป็นอิสระต่อกัน นำมาต่อพ่วงเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันหรือไม่ก็ได้
ข. เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหลายตัวประมวลผลประกอบด้วยซีพียูสองตัวขึ้นไป โปรเซสเซอร์หรือซีพียูเหล่านั้นจะใช้หน่วยความจำร่วมกัน
ค. เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีความเป็นอิสระ นำมาต่อพ่วงเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันหรือไม่ก็ได้
ง. เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหนึ่งตัวประมวลผลประกอบด้วยซีพียูสองตัวขึ้นไป โปรเซสเซอร์หรือซีพียูเหล่านั้นจะใช้หน่วยความจำร่วมกัน

5. ระบบจะมีโปรเซสเซอร์หลาย ๆ ตัวต่อกันอยู่ในระดับปานกลางหรือพอดี เนื่องจากการที่บัสทั้งแบบอนุกรมและขนานมีความเร็วเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน จึงทำให้โปปรเซสเซอร์ภายในระบบสมบูรณ์ยิ่งขึ้นระบบที่ยึดกันแบบปานกลางนี้จะไม่ใช่ระบบที่เป็นเอนกประสงค์ หากแต่จะเป็นระบบเฉพาะกิจ ระบบดังกล่าวคือระบบใด
ก. ระบบที่ยึดเหนี่ยวกันแบบหลวม
ข. ระบบที่ยึดเหนี่ยวแบบปานกลาง
ค. ระบบที่ยึดเหนี่ยวกันอย่างเหนียวแน่น
ง. ระบบที่ยึดเหนี่ยวกันแบบปานกลางถึงเหนียวแน่น

6. ระบบที่ยึดเหนี่ยวกันอย่างเหนียวแน่น จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร
ก. ระบบมัลติโปรเซสเซอร์
ข. ระบบมัลติไฟน์เออ
ค. ระบบมัลติอินเนอร์
ง. ระบบมัลติคลีนเนอร์

7. ข้อจำกัดที่สำคัญของระบบโปรเซสเซอร์ที่เกาะเกี่ยวกันอย่างเหนียวแน่น คือข้อใด
ก. โปรเซสเซอร์แต่ละตัวอาจจะมีหน่วยความจำส่วนตัวได้
ข. โอกาสในความขัดแย้งในการเข้าถึงหน่วยความจำหลักจากโปรเซสเซอร์หลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกัน
ค. โปรเซสทุกตัวอยู่ใกล้กันมากและสามารถใช้บัสคู่ขนานร่วมกันได้
ง. ไม่มีข้อใดถูก

8. องค์ประกอบพื้นฐานในการสร้างระบบมัลติโปเซสเซอร์ ส่วนที่ทำการประมวลผล ข้อใดบ่งบอกถึงส่วนนี้
ก. จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อและเลือกเส้นทางระหว่างโปรเซสเซอร์และหน่วยความจำ อย่างไรก็ดีในระบบมัลติโปเซสเซอร์ที่มีความซับซ้อนนั้น ภายในตัวสวิตซ์นั้นอาจจะประกอบไปด้วยไมโครโปรเซสเซอร์หนึ่งตัวหรือมากกว่านั้นก็ได้
ข. อาจจะเป็นบัสที่ใช้สายทองแดง หรือไฟเบอร์ออปติกก็ได้
ค. ประกอบไปด้วยโปรเซสเซอร์และหน่วยความจำ ดังนั้นเมื่อพูดถึงโปรเซสเซอร์และหน่วยความจำ ก็จะหมายถึง PE นั่นเอง เพื่อความง่ายต่อความเข้าใจ PE ก็คือคอมพิวเตอร์นั่นเอง
ง. สิ่งที่ต้องคำนึงในส่วนเส้นทางเชื่อมก็คือส่วนควบคุมการสื่อสารและโอนย้ายข้อมูลระหว่างโปรเซสเซอร์

9. ลักษณะการจำแนกโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ที่ได้กำหนดขึ้นไว้ในปี ค.ศ. 1966 โดยยึดหลักการไหลของชุดคำสั่งและการไหลของชุดข้อมูล เป็นแนวทางของใคร
ก. อัลเบิร์ต ไอสไตน์
ข. ดร.ไมเคิล เจ ฟลีนน์
ค. ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ง. ไมเคิล แจ็คสัน

10. ในปี ค.ศ. 1971 ณ สหรัฐอเมริกา ได้วิจัยและทำการสร้าง มัลติโปรเซสเซอร์ชื่อว่า C.mmp (Multi – Mini – Processor Computer) โดยมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มหาวิทยาลัยแห่งนั้น คือหมาวิทยาลัยใด
ก. มหาวิทยาลัย Carnegie - Mellon
ข. มหาวิทยาลัย Harward
ค. มหาวิทยาลัย Los – Angelis
ง. มหาวิทยาลัย Boston





บทที่ 11 ระบบแบบกระจาย

1. แนวโน้มการทำงานของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะมีการทำงานที่เป็นลักษณะของการแบ่งการประมวลผลกันระหว่างโปรเซสเซอร์หลาย ๆ โปรเซสเซอร์ที่ทำงานร่วมกัน เรียกว่าอะไร
ก. การทำงานแบบกระจาย
ข. การทำงานแบบกระจุก
ค. การทำงานแบบกระจาด
ง. การทำงานแบบกระจัดกระจาย

2. ระบบแบบกระจาย หมายถึงข้อใด
ก. กลุ่มของโหนดที่มีการทำงานโดยมีการยึดเหนี่ยวกันแบบแน่นเหนียว โดยโปรเซสเซอร์แต่ละตัวจะเชื่อมต่อกันโดยใช้เครือข่ายการติดต่อสื่อสาร
ข. ระบบที่มีการเชื่อมต่อกันหลาย ๆ โหนดผู้ใช้ที่อยู่โหนดหนึ่งสามารถจะใช้ทรัพยากรจากโหนดอื่นได้
ค. กลุ่มของโปรเซสเซอร์ที่มีการทำงานโดยมีการยึดเหนี่ยวกันแบบหลวม โดยโปรเซสเซอร์แต่ละตัวจะเชื่อมต่อกันโดยใช้เครือข่ายการติดต่อสื่อสาร
ง. ระบบที่มีการเชื่อมต่อกันหลาย ๆ โปรเซสเซอร์ผู้ใช้ที่อยู่โปรเซสเซอร์หนึ่งสามารถจะใช้ทรัพยากรจากโปรเซสเซอร์อื่นได้

3. วัตถุประสงค์ของการสร้างระบบแบบกระจายขึ้นมา คือข้อใด
ก. เพื่อเชื่อมต่อโหนดต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อการทำงานที่สะดวกขึ้น
ข. การให้ระบบมีประสิทธิภาพกระจายการทำงานอย่างทั่วถึง
ค. การแชร์ทรัพยากร เพิ่มความเร็วของการประมวลผล ความเชื่อถือได้ของระบบ และการติดต่อ
ง. ถูกทุกข้อ

ใช้คำตอบต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 4 – 7
ก. Resource sharing ค. Reliability
ข. Computation Speedup ง. Communication

4. เพิ่มความเร็วในการประมวลผล คือข้อใด
5. การติดต่อสื่อสาร คือข้อใด
6. การแชร์ทรัพยากร คือข้อใด
7. ความเชื่อถือได้ คือข้อใด

8. เน็ตเวิร์คสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือข้อใด
ก. เน็ตเวิร์คเฉพาะส่วน และ เน็ตเวิร์คบริเวณแคบ
ข. เน็ตเวิร์คบริเวณแคบ และ เน็ตเวิร์คบริเวณกว้าง
ค. เน็ตเวิร์คบางส่วน และ เน็ตเวิร์คบริเวณกว้างไกล
ง. เน็ตเวิร์คเฉพาะที่ และ เน็ตเวิร์คบริเวณกว้าง

9. อินเทอร์เน็ต มีจุดเริ่มต้นมาจากเน็ตเวิร์คใด
ก. ARPANET
ข. INTERNET
ค. ETHERNET
ง. PROTECTNET

10. ในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างโปรเซสเซอร์ในระบบกระจายนั้น จะมีข้อกำหนดหรือข้อตกลงของการสื่อสาร เรียกว่าอะไร
ก. Transmission
ข. Protocol
ค. Control
ง. Domain
บทที่ 12 การป้องกัน

1. เหตุผลที่เห็นชัดที่สุดที่จำเป็นต้องมีการป้องกันรีซอร์ส คือข้อใด
ก. ความจำเป็นในการป้องกันความเสียหายไม่ให้เกิดขึ้นกับระบบ
ข. ความจำเป็นในการสร้างโปรเซสเซอร์
ค. ความจำเป็นในการสร้างความเสียหายเพื่อให้เกิดขึ้นกับระบบ
ง. ความจำเป็นในการแก้ไขโปรเซสเซอร์ให้เข้ากับระบบ

2. รูปแบบหนึ่งของการป้องกันซึ่งจะแสดงในภาพของเมตริกซ์ คือข้อใด
ก. Domain of Protection
ข. Goals of Protection
ค. Access Matrix
ง. Revocation of Access Rights

3. เทคนิคที่นำมาใช้ ประกอบด้วยลิสต์ของออปเจ็กต์และโดเมนที่สามารถเรียกใช้งานแต่ละออปเจ็กต์ได้ รายการที่สร้างขึ้นนี้ เรียกว่าอะไร
ก. Capability Lists
ข. Access Control Lists
ค. Access Lists
ง. Capability Control Lists
ใช้คำตอบต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 4 – 7
ก. Revocation of Access Rights
ข. Access Control Lists
ค. Domain of Protection
ง. Cambridge CAP System
4. ระบบนี้จะเป็นอีกระบบหนึ่งที่มีกลไกป้องกันแบบ Capability แต่ระบบนี้จะมีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่าระบบไฮดรา ระบบที่กล่าว หมายถึงข้อใด
5. การเรียกคืนสิทธิในการเข้าใช้งานระบบ คือข้อใด
6. ACL คือข้อใด
7. การป้องกันโดเมน คือข้อใด

8. รูปแบบที่จะก่อให้เกิดปัญหาในการเรียกคืนสิทธิของการใช้งานระบบ คือข้อใด
ก. Revocation of Access Rights
ข. Capability Lists
ค. Access Control Lists
ง. Cambridge CAP System

9. โดเมน หรือ อาณาจักร หมายถึงข้อใด
ก. กลุ่มของสิทธิการใช้คำสั่งปฏิบัติการที่สามารถกระทำกับออปเจ็กต์ได้ โปรเซสจะถูกประมวลผลในโดเมนโดยจะมีสิทธิในการดำเนินการกับออปเจ็กต์ตามสิทธิที่ได้กำหนดไว้ในโดเมนนั้น
ข. ระบบนี้จะเป็นอีกระบบหนึ่งที่มีกลไกป้องกันแบบ Capability แต่ระบบนี้จะมีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่าระบบไฮดรา
ค. รูปแบบที่จะก่อให้เกิดปัญหาในการเรียกคืนสิทธิของการใช้งานระบบ
ง. เทคนิคที่นำมาใช้ ประกอบด้วยลิสต์ของออปเจ็กต์และโดเมนที่สามารถเรียกใช้งานแต่ละออปเจ็กต์ได้ รายการที่สร้างขึ้นนี้

10. ระบบไฮดรา และ ระบบ เคมบริดจ์ เป็นตัวอย่างหนึ่งของระบบที่ใช้การป้องกันที่เป็นแบบใด
ก. Access Control
ข. Domain of Protection
ค. Capability
ง. Cambridge
บทที่ 13 การรักษาความปลอดภัย

1. การรักษาความปลอดภัย คืออะไร
ก. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลจากผู้ที่ไม่มีสิทธิในข้อมูลนั้น
ข. สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความมั่นใจว่าแฟ้มข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์จะไม่ได้ถูกอ่านหรือแก้ไขโดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
ค. หน่วยงานรักษาความปลอดภัยภายในโปเซสเซอร์
ง. ถูกทุกข้อ

2. ความลับของข้อมูล คืออะไร
ก. ผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลจะไม่สามารถเข้าไปทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
ข. เกี่ยวข้องกับการรักษาข้อมูลลับให้ลับ
ค. การที่ไม่มีใครสามารถที่จะทำการรบกวนการทำงานของระบบ ทำให้ระบบล่มไม่สามารถทำงานต่อไปได้
ง. ถูกทุกข้อ

3. ความเชื่อถือได้ของข้อมูล คืออะไร
ก. เกี่ยวข้องกับการรักษาข้อมูลลับให้ลับ
ข. การที่ไม่มีใครสามารถที่จะทำการรบกวนการทำงานของระบบ ทำให้ระบบล่มไม่สามารถทำงานต่อไปได้
ค. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลจากผู้ที่ไม่มีสิทธิในข้อมูลนั้น
ง. ถูกทุกข้อ

4. ระบบยังคงทำงานอยู่ได้ คือข้อใด
ก. เกี่ยวข้องกับการรักษาข้อมูลลับให้ลับ
ข. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลจากผู้ที่ไม่มีสิทธิในข้อมูลนั้น
ค. การที่ไม่มีใครสามารถที่จะทำการรบกวนการทำงานของระบบ ทำให้ระบบล่มไม่สามารถทำงานต่อไปได้
ง. ถูกทุกข้อ

5. โดยพื้นฐานแล้ว ไวรัส คืออะไร
ก. ส่วนหนึ่งของโค้ดที่เขียนขึ้นมาและมันจะเขียนตัวมันเองซ้ำ ๆ แล้วสร้างความเสียหายบางอย่าง
ข. ส่วนหนึ่งของโค้ดที่เกิดขึ้นมาเองและมันจะเขียนตัวมันเองซ้ำ ๆ แล้วสร้างความเสียหายบางอย่าง
ค. ส่วนหนึ่งของโค้ดที่เขียนขึ้นมาและมันจะเขียนตัวมันเองซ้ำ ๆ แล้วสร้างประสิทธิภาพให้ดีกว่าเดิม
ง. ส่วนหนึ่งของโค้ดที่เกิดขึ้นมาเองและมันจะเขียนตัวมันเองซ้ำ ๆ แล้วสร้างประสิทธิภาพให้ดีกว่าเดิม

6. ผู้ประสงค์ร้าย หมายถึงอะไร
ก. โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นมาและทำให้แพร่กระจายไปสร้างความเสียหาย
ข. บุคคลที่พยายามจะเข้าไปในระบบเพื่อสร้างความเสียหาย
ค. ส่วนหนึ่งของโค้ดที่เกิดขึ้นมาเองและมันจะเขียนตัวมันเองซ้ำ ๆ แล้วสร้างประสิทธิภาพให้ดีกว่าเดิม
ง. ส่วนหนึ่งของโค้ดที่เขียนขึ้นมาและมันจะเขียนตัวมันเองซ้ำ ๆ แล้วสร้างความเสียหายบางอย่าง

7. ขั้นตอนการรับรองผู้ใช้งานของระบบปฏิบัติการเพื่อทำการพิสูจน์ว่าเป็นผู้ใช้ตัวจริง ส่วนใหญ่แล้วระบบปฏิบัติการจะทำเพื่อพิสูจน์การใช้งานอย่างไร
ก. บางสิ่งบางอย่างที่ผู้ใช้ระบบทราบ เช่น รหัสผ่าน
ข. บางสิ่งบางอย่างที่ผู้ใช้มี เช่น กุญแจ บัตรผ่าน
ค. บางสิ่งบางอย่างที่เป็นคุณสมบัติของผู้ใช้ เช่น ลายนิ้วมือ ม่านตา ลายเซ็น
ง. ถูกทุกข้อ
8. ใครก็ตามที่ต้องการจะสร้างความเสียหายให้กับระบบใดระบบหนึ่ง ในขั้นตอนแรกต้องเข้าสู้ขั้นตอนการล็อกอินเข้าระบบนั้น ซึ่งจะหมายถึงบุคคลนั้นสามารถที่จะผ่านเข้าสู่ขั้นตอนของการรับรองผู้ใช้แล้ว ซึ่งบุคคลพวกนี้มีชื่อเรียกว่าอะไร
ก. Hacker ค. Blocgger
ข. Hangman ง. Beginer

9. โปรแกรมอันตราย คือข้อใด
ก. ม้าโทรจัน (Trojan Horses)
ข. ประตูกับดัก (Trap Door)
ค. ประตูโทรจัน (Trojan Door)
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.

10. ระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้สนับสนุนการรักษาความปลอดภัยในหลาย ๆ รูปแบบ ระบบนั้นคือระบบใด
ก. Windows MT ค. Windows NT
ข. Windows BT ง. Windows CT








บทที่ 14 ระบบปฏิบัติการ UNIX & Linux

1. ในปัจจุบันมีระบบปฏิบัติการ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ เป็นที่นิยมสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นลักษณะไคลเอ็นต์ – เซิร์ฟเวอร์ ระบบปฏิบัติที่ว่า คือระบบใด
ก. UNIX ค. Windows
ข. HP – UX ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ค.

2. ระบบ Linux มีการพัฒนาโดยนักเรียนชาวฟินแลนด์ ชื่อว่าอะไร
ก. Linus Torvalds ค. Louis Torvalds
ข. Linus Trovano ง. Link Trovano

3. คอมโพเนนต์ของ Linux System ที่เป็นส่วน Kernel หมายถึงข้อใด
ก. มีหน้าที่ดูแลสิ่งสำคัญทั้งหมดของระบบปฏิบัติการ รวมทั้งหน่วยความจำเสมือนและโปรเซส
ข. เป็นชุดของฟังก์ชันมาตรฐานที่แอปพลิเคชันสามารถโต้ตอบกับ Kernel และเป็นฟังก์ชันของระบบปฏิบัติการที่ไม่ต้องการโค้ดพิเศษของ Kernel
ค. เป็นโปรแกรมที่ทำงานพิเศษโดยเฉพาะ บางยูทิลิตี้ใช้ขณะที่เริ่มต้นเท่านั้น แต่บางยูทิลิตี้ทำงานเหมือน daemons ของ UNIX ที่รันตลอดเวลาทำหน้าที่ดุแลงาน
ง. ถูกทุกข้อ

4. คอมโพเนนต์ของ Linux System ที่เป็นส่วน ไลบรารีระบบ หมายถึงข้อใด
ก. มีหน้าที่ดูแลสิ่งสำคัญทั้งหมดของระบบปฏิบัติการ รวมทั้งหน่วยความจำเสมือนและโปรเซส
ข. เป็นชุดของฟังก์ชันมาตรฐานที่แอปพลิเคชันสามารถโต้ตอบกับ Kernel และเป็นฟังก์ชันของระบบปฏิบัติการที่ไม่ต้องการโค้ดพิเศษของ Kernel
ค. เป็นโปรแกรมที่ทำงานพิเศษโดยเฉพาะ บางยูทิลิตี้ใช้ขณะที่เริ่มต้นเท่านั้น แต่บางยูทิลิตี้ทำงานเหมือน daemons ของ UNIX ที่รันตลอดเวลาทำหน้าที่ดุแลงาน
ง. ถูกทุกข้อ

5. คอมโพเนนต์ของ Linux System ที่เป็นส่วน ยูทิลิตี้ระบบ หมายถึงข้อใด
ก. มีหน้าที่ดูแลสิ่งสำคัญทั้งหมดของระบบปฏิบัติการ รวมทั้งหน่วยความจำเสมือนและโปรเซส
ข. เป็นชุดของฟังก์ชันมาตรฐานที่แอปพลิเคชันสามารถโต้ตอบกับ Kernel และเป็นฟังก์ชันของระบบปฏิบัติการที่ไม่ต้องการโค้ดพิเศษของ Kernel
ค. เป็นโปรแกรมที่ทำงานพิเศษโดยเฉพาะ บางยูทิลิตี้ใช้ขณะที่เริ่มต้นเท่านั้น แต่บางยูทิลิตี้ทำงานเหมือน daemons ของ UNIX ที่รันตลอดเวลาทำหน้าที่ดุแลงาน
ง. ถูกทุกข้อ

6. คอมโพเนนต์ในการจัดการโมดูลตัวสุดท้าย คือข้อใด
ก. Model requestor
ข. Mono requestor
ค. Mode requestor
ง. Module requestor

7. ผู้ที่จัดการหน่วยความจำหลักใน Linux Kernel คือข้อใด
ก. Page allocator
ข. Page setup
ค. Page allow
ง. Page start
ใช้คำตอบต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 8 – 10
ก. Access Control ค. CPU Scheduling
ข. Authentication ง. Character Devices

8. การจัดการเวลาซีพียู คือข้อใด
9. การรับรอง คือข้อใด
10. การควบคุมแอ็กเซส คือข้อใด

บทที่ 15 ระบบปฏิบัติการ Windows 2000

1. ในปีค.ศ. 1981 IBM ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการคอมพิวเตอร์ในขณะนั้นได้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยใช้ซีพียู 8088 มีชื่อว่าอะไร
ก. IBM MC 8088
ข. IBM NC 8088
ค. IBM PC 8088
ง. IBM SC 8088

2. จากข้อ 1. เป็นคอมพิวเตอร์แบบเรียลโหมด มีกี่บิต
ก. 16 บิต
ข. 12 บิต
ค. 22 บิต
ง. 15 บิต

3. Intel ได้ผลิตซีพียู 80286 ขึ้นมา ทาง IBM จึงได้สร้าง PC/AT ในปี 1986 คำว่า AT มาจากคำว่าอะไร
ก. Allow Taruntula
ข. Advance Technology
ค. Allow Technology
ง. Advance Taruntula

4. Windows 95 วางจำหน่ายในปีใด
ก. 1998
ข. 1997
ค. 1996
ง. 1995
5. ตอนเริ่มต้นการพัฒนา NT มุ่งเน้นเพื่อใช้ในลักษณะ portable ดังนั้นภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่จึงเป็นภาษาใด
ก. ภาษา A
ข. ภาษา B
ค. ภาษา C
ง. ภาษา E

6. Windows 2000 เป็นระบบปฏิบัติการแบบใด
ก. Multi planner
ข. Multiuser
ค. Multi erer
ง. Multi begin

7. สถาปัตยกรรมของ Windows 2000 เป็นเลเยอร์ของโมดูล เลเยอร์หลัก ๆ คือข้อใด
ก. HAL
ข. Kernel
ค. Executive
ง. ถูกทุกข้อ

8. Kernel มีคลาสเกี่ยวกับ priority อยู่ 2 คลาส 16 – 31 คือคลาสแบบใด
ก. Real – time
ข. Sometime
ค. Variable – priority
ง. ไม่มีข้อใดถูก

9. Kernel มีคลาสเกี่ยวกับ priority อยู่ 2 คลาส 0 – 15 คือคลาสแบบใด
ก. Real – time
ข. Sometime
ค. Variable – priority
ง. ไม่มีข้อใดถูก

10. เป้าหมายหลักของระบบอินพุต/เอาต์พุตของ Windows 2000 คือข้อใด
ก. สร้างเฟรมเวิร์คสำหรับดูแลอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุตที่มีอยู่หลากหลาย
ข. สร้างเฟรมเวิร์คสำหรับจัดเก็บอินพุต/เอาต์พุตที่มีอยู่หลากหลาย
ค. สร้างเฟรมเวิร์คแก้ไขอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุตที่มีอยู่หลากหลาย
ง. สร้างเฟรมเวิร์คสำหรับใช้อินพุต/เอาต์พุตที่มีอยู่หลากหลาย

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แนะนำตัว

ประดิษฐ ประจำ

บอย

0837400846